เทคโนโลยี

“หัวเว่ย” เปิดตัวโครงการ Seeds for the Future ในประเทศไทย ครั้งใหญ่ที่สุดในระดับภูมิภาค

“หัวเว่ย” เปิดตัวโครงการ Seeds for the Future 2022 ในระดับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ภายใต้ความร่วมมือกับมูลนิธิอาเซียนและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โครงการดังกล่าวมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 – 27 สิงหาคมนี้ โดยมีนักศึกษาระดับแนวหน้ากว่า 120 คนจาก 16 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกซึ่งมีนักศึกษา 10 คนจากประเทศไทย เข้าค่ายพัฒนาทักษะดิจิทัลนี้เป็นเวลา 9 วันในประเทศไทย เพื่อสร้างความตระหนักซึมซับกับเทคโนโลยีและประสบการณ์การเรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมในโครงการ Tech4Good

โครงการ Asia Pacific Seeds for the Future 2022 ถือเป็นปฐมบทของโครงการ Seeds for the Future ระดับอาเซียน นับตั้งแต่การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างหัวเว่ยและมูลนิธิอาเซียน เพื่อยกระดับ Seeds for the Future

ระดับภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2564 โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพการจัดทริปทัศนศึกษาสำหรับผู้เข้าร่วมการแข่งขัน Seeds for the future ในปีนี้ ด้วยเป้าหมายในการนำเสนอประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

พิธีเปิดโครงการครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐและตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศมากมายเข้าร่วม นอกจากนี้ อีกทั้งมีวิทยากรต่าง ๆ ขึ้นกล่าวปาฐกถาเน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันหลายฝ่าย เพื่อวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับอีโคซิสเต็มเพื่อผู้ที่มีทักษะทางดิจิทัลในภูมิภาค

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ขึ้นกล่าวภายในงานว่า “ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน Huawei Seeds for the Future ประจำปี 2022 ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทย ผมต้องขอขอบคุณหัวเว่ยที่จัดโครงการดีๆ เช่นนี้ ปัจจุบัน ภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมมือกันพัฒนาบุคลากรทางด้านไอซีทีเพื่อปรับตัวให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ผมเชื่อว่าการร่วมมือกันจัดการฝึกอบรมกับบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่างหัวเว่ย จะช่วยยกระดับศักยภาพทางการศึกษาและจะเป็นก้าวสำคัญต่อการพัฒนาด้านดิจิทัล เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายในการเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจสู่ระดับโลก”

ด้านนายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เอเชียแปซิฟิก ได้แสดงวิสัยทัศน์ของหัวเว่ยในการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถว่า “คำว่า ’seeds’ เปรียบเสมือนตัวแทนของความหวัง ความชื่นชอบ และอนาคต ในฐานะที่โครงการนี้เป็นโครงการซีเอสอาร์ระดับเรือธงขององค์กร โปรแกรมนี้ได้ขยายไปยังประเทศและภูมิภาคต่างๆ เกือบ 140 แห่ง เข้าถึงนักศึกษามากกว่า 12,000 คนจากมหาวิทยาลัย 500 แห่ง ซึ่ง “Seeds” หรือเมล็ดพันธุ์นี้ได้เติบโตจนกลายเป็น “Forest” หรือป่าระดับโลก การเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นแรงผลักดันสำหรับอนาคตของเรา และบุคลากรที่มีทักษะจะเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน หัวเว่ยเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าคนรุ่นใหม่จะเติบโตมาในฐานะผู้สร้างของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พวกเขาจะแกร่งขึ้นหากพวกเขาได้ไล่ตามความฝันด้านเทคโนโลยี”

โครงการ Seeds for the Future 2022 ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไม่เพียงแต่เป็นโครงการที่ให้ความรู้ แต่ยังเป็นการปรับเปลี่ยนจากไอเดียไปสู่การริเริ่มโครงการต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับคุณภาพชีวิตและความสุขในภาคสังคม

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวว่า “โครงการ Seeds for the Future มีความสำคัญสำหรับนักศึกษาที่สนใจในด้านไอซีทีและเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะเป็นการช่วยเติมเต็มช่องว่างระหว่างภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยทางกระทรวงศึกษาธิการมีวิสัยทัศน์มุ่งเน้นเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งการศึกษาก็ควรให้ความสำคัญกับทักษะด้านดิจิทัลควบคู่กันไปด้วย จุดนี้ถือเป็นพัฒนาการที่สําคัญที่สุดของวงการการศึกษาไทย ซึ่งทางกระทรวงจะร่วมมือกับหัวเว่ย ประเทศไทยอย่างเต็มที่เพื่อเสริมสร้างคุณภาพทางการศึกษาในทุกรูปแบบ นำไปสู่การยกระดับการพัฒนาการศึกษาสู่ระดับสากล”

นายกฤษฏา คงคะจันทร์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ยังได้กล่าวชื่นชมโครงการ Seeds for the Future ว่า “โครงการนี้ถือเป็นแพลตฟอร์มชั้นยอดสำหรับการแลกเปลี่ยนของเยาวชนในระดับภูมิภาค และยังเปิดให้นักศึกษาในประเทศมีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับหัวเว่ยเพื่อพัฒนาบุคลากรในด้านทักษะทางไอซีทีในประเทศนั้น ๆ และเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างประเทศและวัฒนธรรมอันหลากหลาย”

นับจากนี้ เหล่านักศึกษาจะได้เริ่มต้นการเดินทางที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมและดิจิทัลเข้าด้วยกัน อาทิ การเยี่ยมชมศูนย์กลางกระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ งานมหกรรม Metaverse Expo และพระบรมมหาราชวังใน

กรุงเทพมหานคร เป็นต้น ในขณะเดียวกัน พวกเขาจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่าง 5G, AI และการประมวลผลคลาวด์จากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้วย

ในระหว่างโครงการค่ายดิจิทัล ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องจัดทีมและสร้างโครงการนำเสนอสำหรับ “Tech4Good” และแบ่งปันวิสัยทัศน์ของพวกเขาในการสร้างโลกดิจิทัลที่ดีขึ้น โดยทีมที่ชนะจะได้เข้าแคมป์หลักสูตรเร่งรัดที่ประเทศสิงคโปร์ ในวันที่ 29 สิงหาคม ถึง 2 กันยายน พ.ศ. 2565 ซึ่งพวกเขาจะได้รับโอกาสในการพบกับผู้ประกอบการและ นักลงทุนระดับแนวหน้า และเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาความคิดริเริ่มของพวกเขาต่อไป ก่อนที่จะนำแนวคิดของพวกเขาพัฒนาออกสู่ตลาด

หัวเว่ยได้จัดโครงการการแข่งขัน Tech4Good ในระดับโลกเป็นครั้งแรกในปีที่ผ่านมา โดยโปรเจ็ค “Are u OK” จากทีมของประเทศไทยได้คว้ารางวัลเหรียญทอง ด้วยโซลูชันสำหรับช่วยให้ผู้ป่วยในประเทศไทยได้รับการรักษากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

การบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัลถือเป็นกลยุทธ์ที่หัวเว่ยประเทศไทยให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง โครงการ Seeds for the Future เป็นโครงการหลักด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรระดับโลกอย่างหัวเว่ย ซึ่งรวบรวมเยาวชนที่มีความสามารถระดับโลกจากมหาวิทยาลัยชั้นนำมาเข้าค่ายฝึกอบรมดิจิทัลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยโครงการ Seeds for the Future ริเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 ในประเทศไทย ทั้งนี้ นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวเสริมว่าหัวเว่ยได้สนับสนุนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านทักษะดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง และผลักดันการเพิ่มทักษะให้แรงงาน ส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีความเข้าใจและสนใจภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมากขึ้น รวมทั้งกระตุ้นให้เข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชนดิจิทัล

เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา โครงการ Seeds for the Future ได้ขยายการดำเนินการไปแล้วใน 137 ประเทศและภูมิภาค โดยเข้าถึงนักเรียนนักศึกษาจำนวน 12,000 คนจากมหาวิทยาลัยมากกว่า 500 แห่ง และยังสร้างคุณประโยชน์ให้แก่นักเรียนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศไทยถึง 215 คน

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button