สังคมสูงวัย

กมธ.ไอซีที วุฒิสภา หนุนดูแลผู้สูงอายุผ่านนวัตกรรม

เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 66  กมธ.ไอซีที วุฒิสภา หนุนดูแลผู้สูงอายุผ่านนวัตกรรม เทคโนโลยี เร่งเผยแพร่ “Gold Application” การใช้หุ่นยนต์หัดเดิน ฟื้นฟูผู้ป่วย จัดกองทุนหนุนอาชีพ รองรับสังคมผู้สูงอายุ

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการ การเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา เป็นประธานการประชุม กมธ.ไอซีที วุฒิสภา ได้หารือและเสนอแนะความคิดเห็นอย่างหลากหลาย เรื่อง “นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงด้านสุขภาพ หลังได้เชิญ 3 หน่วยงานรัฐ ชี้แจงข้อมูล เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ในการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง

ด้านนายนิพนธ์ นาคสมภพ โฆษษก กมธ.ไอซีที วุฒิสภา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร กล่าวว่า กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนางานด้านผู้สูงอายุ ด้วยการจัดทำดิจิทัลเซอร์วิส “Gold Application” เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งการให้บริการกู้ยืมเงินทุน เพื่อการประกอบอาชีพจากกองทุนผู้สูงอายุ ผ่านช่องทางออนไลน์ https://www.dop.go.th/th และ Gold Application ในด้านการพัฒนาศักยภาพ (E learning) ผ่านหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ 18 ชั่วโมง ผ่านช่องทางออนไลน์ https://www.thaielderlycare.org/ และ Gold Application

ส่วนสุขภาพ มุ่งเน้นการ ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส.) 12 แห่ง มาใช้ขับเคลื่อนงานด้านนวัตกรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมสูงอายุ โดยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยี อย่างเหมาะสม การใช้หมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 เพื่อเป็นสื่อกลางในการให้ข้อมูลและลงทะเบียนขอรับการบริการ ขณะนี้มีผู้ประสงค์เข้าสู่สถานบริการ 2,000 คน มีผู้อยู่ในศูนย์บริการ 1,238 คน กมธ.ไอซีที วุฒิสภา เสนอแนะการวางแผนระยะยาว เพื่อการบริหารจัดการผู้สูงอายุ การมุ่งประชาสัมพันธ์ การใช้แอปพลิเคชัน Gold เพื่อให้รับรู้กันอย่างแพร่หลาย การหาหน่วยงาน เข้ามาดูเรื่อง การใช้เทคโนโลยีเพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยตรง เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้งานได้สะดวก

กมธ.ไอซีที วุฒิสภา เสนอแนะว่า การจัดทำมาตรฐานเพื่อรองรับนวัตกรรมใหม่ ยังการขาดแคลนห้องปฏิบัติการ รองรับการทดสอบของมาตรฐานใหม่ จึงขอให้ทางภาคเอกชน และรัฐบาลช่วยสนับสนุน ห้องปฏิบัติการมากขึ้น หลังจากพบว่า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้จัดทำมาตรฐานฯ ในกลุ่มเครื่องมือแพทย์ 255 มาตรฐาน และมีมาตรฐานบังคับ จำนวน 5 มาตรฐาน และในปี 2567 สมอ. เตรียมจัดทำโครงการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานอุตสาหกรรม และบริการทางการแพทย์ 12 มาตรฐาน เช่น อุปกรณ์ช่วยพยุง ลุก-ยืน เพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือ อุปกรณ์ฝึกเดิน มุ่งผลักดัน เครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะหุ่นยนต์ และ เครื่องกล กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เชื่อมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ การกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะเครื่องใช้ผู้สูงอายุ ควรให้เป็นมาตรฐานเดียว เช่น อุปกรณ์เต้าเสียบปลั๊กแบบ 2 ขา และ 3 ขา ยังไม่มีมาตรฐานเพื่อบังคับการใช้งาน

ในส่วนของ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ศลช. (TCELS) ได้บริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม เช่น ระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ระบบบริการดูแลที่บ้านมีคุณภาพในราคาเป็นธรรม การสนับสนุนหุ่นยนต์ฝึกเดิน การพัฒนาเครื่องหุ่นยนต์ช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยอาการหลอดเลือดสมองหรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุต่าง ๆ ขณะนี้มีการใช้งานในหลายโรงพยาบาล ต้นทุนราคา 3-4 ล้านบาท ถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศหลายเท่าตัว คณะอนุกรรมาธิการ มองว่า ยังได้รับงบประมาณค่อนข้างจำกัด ควรส่งเสริมให้ สปสช. ใช้นวัตกรรมในประเทศมากขึ้น

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button