พลังงาน

วิศวฯ จุฬาฯ จับมือ กฟผ. และมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ ประกาศความร่วมมือขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยนวัตกรรม และร่วมเปิดตัวโครงการ Chula Learn-Do-Share 2024

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือกับ กฟผ. และมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ ประกาศความร่วมมือการขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่สังคมเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยนวัตกรรม พร้อมกับเปิดตัว “โครงการ Chula Learn-Do-Share 2024″ และการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ความท้าทายในการ หน้าอนาคตประเทศ : COP28 Global stocktake และความสำคัญของ Supply chain management” และเสวนาทางวิชาการหัวข้อ “The Path to Carbon Neutrality: Transforming Green Supply chains Business” ในงาน “อรุณ สรเทศน์ รำลึก 2567″ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา

 

ภายงานมีการเปิดตัว “โครงการ Chula Learn-Do-Share 2024″ ที่มีเป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพของ เพื่อมุ่งสู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและเสริมสร้างความตระหนักให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในการประยุกต์ใช้แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน รวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกให้แก่บุคลากร นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก คุณวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับโครงการ มากล่าวถึงบทบาทของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม : SMEs Green Transformation

นอกจากนี้ ยังมีการประกาศความร่วมมือการขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่สังคมเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยนวัตกรรมระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยนายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ กฟผ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ โดยนายวีระวัฒน์ ชลายน ประธานมูลนิธิฯ ณ หอประชุมวิศวะ จุฬาฯ “HALL OF INTANIA” ชั้น 1 อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรองกรรมการมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ กล่าวว่า งานอรุณ สรเทศน์ รำลึก ที่จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์สู่สังคม รวมถึงโครงการ Chula Learn-Do-Share 2024 ที่ได้เปิดตัวครั้งจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดันให้ประเทศไทยมุ่งสู่สังคมความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งผลิตผล งานวิจัยทางวิชาการ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งเสริมสร้างการทำงานร่วมกันข้ามศาสตร์ ข้ามสาขา และเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และภาค ประชาชน ตลอดจนพัฒนานิสิตและบุคลากรที่จะไม่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์กรต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน

ด้านศาสตราจารย์ ดร. พิสุทธิ์ เศียรมนกุล ผู้อำนวยการสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน ระบุว่า การจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเสริมสร้าง กลุ่มคนที่มีทักษะความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Green talent) การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การสร้างความ ร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงการสนับสนุนธุรกิจ SMEs ที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งการจะขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจให้รองรับกับการเปลี่ยนผ่านสู่การสร้างเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำได้นั้น องค์ประกอบที่สำคัญ คือ บุคลากรในธุรกิจนั้นจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจให้เท่าทัน และพัฒนา ศักยภาพให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง อันเป็นที่มาของโครงการ Chula Learn-Do-Share ในครั้งนี้

 

กายในงานมีการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ความท้าทายในการเดินหน้าอนาคตประเทศ : COP28 Global tocktake และความสำคัญของ Supply chain management” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มาให้มุมมองของภาคนโยบายต่อเรื่องของ Climate change อีกทั้งการเสวนาวิชาการหัวข้อ “The Path to Carbon Neutrality: Transforming green Supply chains and Business” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญจากหลายสาขาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และแลกเปลี่ยนมุมมอง เพื่อหาแนวทางการนำพาประเทศไทยและ SMEs ของประเทศ ไปสู่เป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง ได้แก่ ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองกรรมการผู้จัดการ คารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) นายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัยนวัตกรรมและพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นายธนกร ชาลี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) และศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล ผู้อำนวยการสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการมอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ ซึ่งมูลนิธิได้สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button