พลังงาน

“จีเอฟอี”จ่อ COD โรงไฟฟ้าขยะชุมชน เทคโนโลยีไพโรไลซิสใหญ่สุดในอาเซียน เดือน ต.ค.

“จีเอฟอี เอนเนอร์ยี่ บาล๊านซ์” ผู้ดำเนินการก่อสร้างต้นแบบโรงไฟฟ้าขยะชุมชนด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิส เพื่อกำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ขนาด 9.6 เมกะวัตต์ ได้ฤกษ์กดปุ่มเปิดขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ หรือ COD ในเดือนตุลาคม นี้ ถือว่าเป็นโรงไฟฟ้าขยะพลังงานสะอาดแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และสามารถแก้ปัญหาขยะในเมืองอุดรธานีได้ 109,500 ตันต่อปี แถมช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้  300,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปีอีกด้วย

โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชนด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิส ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี มูลค่า 710 ล้านบาท  ขนาด 9.6 เมกะวัตต์ ที่ดำเนินก่อสร้างโดยบริษัท จีเอฟอี เอนเนอร์ยี่ บาล๊านซ์ จำกัด ซึ่งตามกระบวนการก่อนเข้าสู่การผลิตไฟฟ้าจากขยะจะมีนำพลาสติกที่ได้จากการคัดแยกขยะไปเผาจะได้น้ำมันเพื่อเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ถือว่าเป็นต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด และมีกำหนดจะเปิดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในเดือนตุลาคม 2565

นายกิติพัฒน์ ตัณฑพงศ์ กรรมการบริหาร บริษัท จีเอฟอี เอนเนอร์ยี่ บาลานซ์ จำกัด

โดยนายกิติพัฒน์ ตัณฑพงศ์ กรรมการบริหาร บริษัท จีเอฟอี เอนเนอร์ยี่ บาลานซ์ จำกัด เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชนด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิส ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ว่า ขณะนี้โครงการมีความความคืบหน้าในการก่อสร้างไปมากแล้วกว่า 60 % และคาดว่าจะพร้อมจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ให้กับทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ​ประมาณเดือนตุลาคม 2565 หลังจากบริษัทได้ลงนามสัญญาก่อสร้างกับทางบริษัท เมโทร เอนเนอร์ยี่ จำกัด เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชนแห่งนี้ถือว่าเป็นโรงไฟฟ้าขยะพลังงานสะอาดแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนที่ใช้ด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิส สามารถแก้ปัญหาขยะในเมืองอุดรธานีได้ 300 ตันต่อวัน หรือประมาณ 109,500 ตันต่อปี และยังช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้  300,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี

สำหรับการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิสเป็นความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในท้องถิ่น นับว่าเป็นโรงไฟฟ้าขยะต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้เทคโนโนโลยีไพโรไลซิส มาเป็นหัวใจหลักของกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก เพื่อป้อนเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าขนาด 9.6 เมกะวัตต์ติดตั้ง และจะขายไฟฟ้าเข้าระบบจำนวน 8 เมกะวัตต์ ในเดือนตุลาคม 2565 แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) อัตราค่าไฟอยู่ที่ 5 บาทต่อหน่วย อายุสัญญา 25 ปี ระยะเวลาคืนทุน 5-7 ปี

นายกิติพัฒน์ กล่าวด้วยว่า จากการตอบรับเป็นอย่างดีของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าขยะชุมชนด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิส และจะกลายเป็นโรงไฟฟ้าขยะต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้เทคโนโนโลยีไพโรไลซิสมาเป็นหัวใจหลักของกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก ขณะนี้ทางบริษัทอยู่ระหว่างศึกษาศักยภาพพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อขยายโรงไฟฟ้าขยะชุมชนลักษณะเดียวกันนี้ โดยสนใจจะลงทุนในพื้นที่จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในพื้นที่เกาะต่างๆ ที่มีพื้นที่เล็กสามารถบริหารจัดการได้ง่าย และตอบโจทย์การแก้ปัญหาขยะไม่ต้องขนกลับมายังฝั่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายกับท้องถิ่นเหมือนที่ผ่านมา

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button