เศรษฐกิจ

ครม.ไฟเขียวเปิด “สุราเสรี” ชาวบ้านยิ้มร่าผลิตเองดื่มในครัวเรือนได้

ครม. ไฟเขียวกฏหมายเปิด “สุราเสรี” ชาวบ้านก็ยิ้มร่าทำเองดื่มในครัวเรือน ส่วน “คราฟต์เบียร์-บลิวผับ” เฮ ! กันถ้วนหน้า ปลดล็อกทุนจดทะเบียน และยกเลิกกำลังการผลิตขึ้นต่ำ “โฆษกรัฐบาล” ชี้การผลิตสุราเพี่อการค้าและเพื่อบริโภคควบคู่กับการคุ้มครองสินค้าสุราให้ได้คุณภาพมีมาตรฐานและความปลอดภัยต่อสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อมวันนี้ (1 พฤศจิกายน 2565) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. …. เป็นการปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตผลิตสุรา รวมทั้งปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิตสุราให้สอดคล้องกับบริบทของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตสุรา ในปัจจุบันให้มากขึ้น

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีการปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตผลิต  “กรณีสุราแช่” เช่น น้ำตาลเมา  อุ  เบียร์  ไวน์ สปาร์กลิ้งไวน์ และสุราแช่พื้นเมือง  โดยยกเลิกการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท   แต่ทั้งนี้ ผู้ขออนุญาตผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ ยังต้องเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฏหมายไทยและมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51

ในส่วนของ  “กรณีสุรากลั่น” เช่น สุราขาว  ยังเพิ่มโรงงานอุตสาหกรรมสุรากลั่นขนาดกลาง ที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 50 แรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่า 50   จากเดิมที่มีขนาดเครื่องจักร ไม่เกิน 5 แรงม้าหรือใช้คนงานน้อยกว่า 7 คน  หรือโรงงานไซร์ “S”   ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ โดยจะทำให้กำลังการผลิตและคุณภาพดีขึ้นนอกจากนี้ ได้ยกเลิกการกำหนดกำลังการผลิตขั้นต่ำของโรงอุตสาหกรรมสุราแช่ ชนิดเบียร์ จากที่กำหนดกำลังต้องไมต่ำกว่า 1 แสนลิตร/ปี และไม่เกิน 1 ล้านลิตร/ปี เป็นโดยให้เป็นโรงงานตามกฏหมายว่าด้วยโรงงานหรือใช้เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิตสุราแช่ ชนิดเบียร์ที่มีมาตรฐานตามที่ อธิบดีกรมสรรพสามิตประกาศ แต่ยังให้คงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขกำลังการผลิตขั้นต่ำตามเดิม

ในส่วนโรงอุตสาหกรรมผลิตสุรากลั่น ชนิดสุราพิเศษ เช่น วิสกี้  บรั่นดี และยิน  ไม่ต่ำกว่า 30,000 ลิตร/วัน  และโรงอุตสาหกรรมผลิตสุรากลั่นชนิดอื่น ๆ เช่น  สุรากลั่นชนิดสุราขาวและองค์การสุรา  ไม่ต่ำกว่า 90,000 ลิตร/วัน รวมทั้งให้เพิ่มเติมให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยโรงงาน

พร้อมกันนี้ ยังเพิ่มเติมขั้นตอนและวิธีการในการขออนุญาต โดยให้สามารถยื่นคำขอรับใบอนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้โฆษกรัฐบาล ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ร่างกฏกระทรวงฯ เป็นการผ่อนคลายความเข้มข้นของ พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งได้มีการหารือหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการผ่อนคลายหลักเกฑ์  วิธีการ เงื่อนไขเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตผลิตสุรา ให้มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ในเชิงธุรกิจ  และธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตสุราไนปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจมากขึ้น  แต่ยังคงไว้ซึ่งหลักการสำคัญในเชิงประโยชน์ของรัฐ ในการบริหารการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าสุราอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสินค้าสุราที่ผลิตได้คุณภาพมีมาตรฐานและความปลอดภัยต่อการบริโภค  ครอบคลุมการดูแลทั้ง 3 ด้าน คือ การดูแลสุขภาพพี่น้องประชาชน  การดูแลสังคม ป้องกันอุบัติเหตุที่มาจากการดื่มสุรา รวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตสุราด้วย

นายณัฐกร อุเทนสุต โฆษกกรมสรรพสามิต

ด้านนายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต กล่าวเพิ่มเติมว่าในร่างกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. …. เป็นการปรับปรุงแก้ไขใบอนุญาต ซึ่งเดิมมีการกำหนดใบอนุญาต 2 ประเภท คือ การผลิตสุราแช่ชนิดเบียร์ และสุรากลั่นชุมชน ซึ่งการแก้กฎหมายครั้งนี้จะทำให้เบียร์ที่เป็นบริวผับ ต่อไปไม่ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท และยกเลิกกำลังการผลิตขั้นต่ำ เพียงแต่ต้องเป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และใช้เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิตเบียร์ที่ได้มาตรฐานตามกฏหมายโรงงานอุตสาหกรรม และกรมควบคุมมลพิษ

ส่วนสุราแช่ชุมชนเดิมยกเว้นให้โรงขนาดเล็กการผลิตไม่เกิน 5 แรงม้า กำลังคนไม่เกิน 7 คน ต่อไปนี้ได้ขยายให้เป็นโรงขนาดกลางมีกำลังการผลิตไม่เกิน 50 แรงม้า คนไม่เกิน 50 คน คน ใช้เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิตที่มีมาตรฐานตามที่กรมฯกำหนด และปฏิบัติตามกฏหมายสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข ซึ่งการขยายเป็นโรงขนาดกลางจะเป็นตัวช่วยให้สุรากลั่นชุมชนมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตก็จะถูกลง ขนาดถูกลงแล้วจะส่งผลให้คุณภาพสุราดีขึ้นด้วย

นายณัฐกร กล่าวด้วยว่า ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวมีการปรับแก้ไขส่วนทุนจดทะเบียนเพื่อเป็นการปลดล็อกกรณีที่เป็นการค้า ส่วนที่ไม่ใช่การค้า กรมฯ อนุญาตให้ผลิตเอง ทำเองได้ แต่เอาไว้บริโภคเองในครัวเรือนเท่านั้น ซึ่งกรมฯ อนุญาตให้ผลิตได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 1. ต้องขออนุญาตกับกรมฯ 2.มีกำลังการผลิตต้องไม่เกิน 200 ลิตรต่อปี หรือผลิตในครัวเรือนเท่านั้น 3.ผู้ผลิตต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ 4.เมื่อผลิตเสร็จแล้วต้องเอามาให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบคุณภาพก่อน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลไม่มีสารปนเปื้อน

“ต่อไปการผลิตสุราแช่ สุรากลั่นชุมชน สามารถทำเองได้หมด เพียงแต่ต้องขออนุญาตจากกรมสรรพสามิตก่อน และจะต้องดื่มในครัวเรือนเท่านั้น จะนำไปดื่มตามสถานที่ต่างๆ ไม่ได้เด็ดขาด หากพบว่ามีการกระทำผิดจะถูกลงโทษปรับ  ยังไม่มีโทษถึงขั้นจำคุก ซึ่งจะมีการออกกฎหมายลูกมารองรับต่อไป” โฆษกกรมสรรพสามิต กล่าว

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button