พลังงาน

กรมเชื้อเพลิงฯ เผยข่าวดีปี 2566 ปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติ “แหล่งเอราวัณ” เพิ่มขึ้นช่วยให้ค่าไฟฟ้าถูกลง

กรมเชื้อเพลิงฯ เผยข่าวดีปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งเอราวัณจะกลับมา 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในเดือนเม.ย. ปี 67 ช่วยทำให้ค่าไฟไฟ้าถูกลง พร้อมเตรียมเปิดสำรวจและผลืตปิโตรเลียมอีก 3 แปลงบริเวณอ่าวไทย รวมถึงเร่งพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ด้วย

ดร.สราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า แผนงานสำคัญที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติให้ความสำคัญ คือ ด้านการจัดหาเชื้อเพลิงพลังงานที่ต้นทุนไม่สูง ทั้งจากแหล่งในประเทศและเพื่อนบ้าน ซึ่งมีส่วนช่วยลดผลกระทบต้นทุนเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าและภาระค่าฟ้าของประชาชน โดยเฉพาะการจัดหาเชื้อเพลิงพลังงานจากแหล่งในประเทศ ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ และการนำเข้าจากต่างประเทศในสถานการณ์ราคาพลังงานโลกวิกฤตและราคา Spot LNG มีความผันผวนสูง โดยในปี 2565 ที่ผ่านมาแหล่งเอราวัณและแหล่งบงกช ได้สิ้นอายุสัมปทานและได้เปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้ติดตามการดำเนินงานในช่วงเปลี่ยนผ่านอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ดี การผลิตของแหล่งเอราวัณที่ไม่สามารถผลิตได้ตามเป้าในช่วงแรกของสัญญา เนื่องจากการเจรจาระหว่างผู้รับสัญญารายใหม่และผู้รับสัมปทานรายเดิมเกี่ยวกับข้อตกลงในการเข้าพื้นที่ และการเจาะหลุมเพื่อเตรียมการผลิตปิโตรเลียมเป็นการล่วงหน้า ล่าช้ากว่าแผน แต่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้บริหารจัดการโดยประสานผู้รับสัมปทานรายเดิมและผู้รับสัญญารายใหม่ให้ผลิตอย่างเต็มความสามารถของแต่ละแหล่ง จัดทำธรรมชาติเข้าระบบ

“วันนี้การผลิตก๊าซธรรมชาติที่แหล่งเอราวัณอยู่ที่ 200 กว่าล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เราได้เร่งให้มีการเจาะหลุมกระเปาะเล็กๆ ทุกวัน คาดว่าภายในเดือน ก.ค. ปี 2566 จะเพิ่มการผลิตขึ้นมาเป็น 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และเพิ่มเป็น 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในช่วงปลายปี 2566 และเดือนเม.ย. 2567 ถึงจะกลับมาผลิตได้ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ระหว่างนี้เราก็เร่งกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นๆ ในอ่าวไทยมาชดเชยให้มากที่สุด เพื่อช่วยลดต้นทุนเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้า”

สำหรับในปี 2566 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะจัดทำและทบทวนแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องเป็นระยะๆ พร้อมทั้งจัดหาก๊าซธรรมชาติเข้าระบบเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง กำกับดูแลผู้รับสัมปทานและผู้รับสัญญาในการจัดหาก๊าซธรรมชาติและการหยุดซ่อมบำรุงให้เป็นไปตามแผน โดยในระยะยาว กระทรวงพลังงานมีนโยบายส่งเสริมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยมีการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อความมั่นคงเพิ่มเติม ได้แก่ การเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ (รอบที่ 24) จำนวน 3 แปลง ในบริเวณทะเลอ่าวไทย มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 35,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอการพิจารณาคำขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียม นอกจากนี้ มีรวมถึงการเร่งพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติในเขตพื้นที่ไหล่ทวีปคาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา ด้วย

นอกจากนั้น ด้านการดำเนินงานและพัฒนา เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ในชั้นหินทางธรณีวิทยาของประเทศไทย จะเร่งผลักดันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CCUS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและมีประสิทธิภาพสูงในการจัดการ CO2 เพื่อเป็นไปตามนโยบายการมุ่งสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ การดำเนินงานด้าน CCUS ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบันมีการดำเนินงานด้าน CCUS ในประเทศ 23 โครงการ มีโครงการนำร่องที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอาทิตย์ตั้งอยู่ในอ่าวไทย นอกชายฝั่งจังหวัดสงขลา จะเริ่มอัด CO2 ได้จริงภายในปี ค.ศ. 2026 โครงการพื้นที่อ่าวไทยตอนบน คาดว่า
จะมีศักยภาพในการกักเก็บ CO2 ในชั้นหินอุ้มน้ำเค็ม เพื่อจัดการ CO2 ที่มีการปลดปล่อยบริเวณพื้นที่จากนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศ และโครงการแอ่งแม่เมาะและแอ่งลำปาง จังหวัดลำปาง โดยร่วมกับกรมการพลังงานทหาร กฟผ. ปตท.สผ. และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาพื้นที่ศักยภาพเพื่อใช้ในการกักเก็บ CO2 จากโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button