เทคโนโลยี

นักวิจัย มจธ. สุดเจ๋ง ! สร้างหุ่นยนต์​ต้นแบบทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์

นักวิจัย มจธ. สุดเจ๋ง !
สร้างหุ่นยนต์​ต้นแบบทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์
ต้นทุนต่ำ คืนทุนเร็ว

วันนี้ (13 ธันวาคม​ 2562) อาจารย์เอกชัย เป็งวัง หัวหน้าโครงการการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักรสำหรับทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์​ มหาวิทยาลัย​เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)​ นำทีมคณะกรรมการอำนวยการโครงการร่วมฯ ของสำนักงาน​คณะกรรมการ​ส่งเสริมวิทยาศาสตร์​ วิจัยและนวัตกรรม​ (สกสว.) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนทุนร่วมกับทีมงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าเยี่ยมชมการสาธิตและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเครื่องจักรทำความสะอาดแผงเซลล์​แสงอาทิตย์​ ที่ มจธ. และ ลงพื้นที่จริงที่โครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์​ (Sunny Bangchak) ของบริษัท บางจากปิโตรเลียม​ จำกัด (มหาชน)​ จ.พระนครศรีอยุธยา
อาจารย์เอกชัย เป็งวัง เปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบัน โครงการ “การพัฒนาต้นแบบเครื่องจักรสำหรับทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์” ได้ผลิตหุ่นยนต์​ต้นแบบที่มีลักษณะเป็น Modular Robot ที่สามารถปรับเปลี่ยนความยาวตามลักษณะ​ของแผงต่างๆ (ในช่วง 1 – 4 เมตร)​ ทำความสะอาดร่วมระหว่างการฉีดน้ำและการขัดด้วยแปรงที่สามารถปรับแรงกดได้ นอกจากนี้หุ่นยนต์​มีน้ำหนักเบา ขนย้ายได้ด้วยคน 2 คน โดยต้นทุนของหุ่นยนต์นี้อยู่ที่ราคา 70,000 – 100,000 บาท สำหรับโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์ฟาร์มที่มีขนาด 1 เมกะวัตต์​ จะสามารถคืนเงินทุนได้ภายใน 6 เดือน แต่หากฟาร์มที่มีขนาดใหญ่กว่านี้จะสามารถคืนทุนได้เร็วขึ้นอีก ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับประเทศไทยที่นอกจากจะได้นวัตกรรม​ใหม่แล้ว ยังเพิ่มโอกาสทาง​เศรษฐกิจ​อีกทางหนึ่งด้วย

คำบรรยายภาพ
ทีมคณะกรรมการ​อำนวยการ​โครงการ​ สกสว. ร่วมกับ ทีมประสานงาน กฟผ. เข้าเยี่ยมชมการสาธิตหุ่นยนต์​ทำความสะอาด​แผง​เซลล์​แสงอาทิตย์​ที่ มหาวิทยาลัย​เทคโนโลยี​พระ​จอมเกล้า​ธนบุรี และ โครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์​ (Sunny Bangchak) ของบริษัท บางจากปิโตรเลียม​ จำกัด (มหาชน)​ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button