การค้า/อุตสาหกรรม

โรงงานน้ำตาลร่วมมือชาวไร่ตัดอ้อยสด หนุนสินเชื่อรถตัดอ้อย-รวมแปลงปลูก-รับซื้อใบอ้อย

โรงงานน้ำตาล ร่วมมือชาวไร่ตัดอ้อยสด- หนุนสินเชื่อรถตัดอ้อยรวมแปลงปลูก-รับซื้อใบอ้อย รับสัญญาณดีหลังปริมาณอ้อยเข้าหีบ 50 วันแรก อ้อยไฟไหม้ลดลงอย่างชัดเจน

โรงงานน้ำตาล เสนอโมเดลแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ชี้ภาครัฐ เอกชนและชาวไร่ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ตั้งแต่การบริหารจัดการแปลงปลูก รณรงค์และออกมาตรการจูงใจชาวไร่ตัดอ้อยสดแทนการเผาอ้อย พร้อมเสนอภาครัฐให้การสนับสนุนสินเชื่อรถตัดอ้อยและรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลมากขึ้น โดยเฉพาะโรงงานรับซื้อใบอ้อยไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า แม้ไม่คุ้มต้นทุน หวังช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง ขณะที่อ้อย 50 วันแรกของฤดูการผลิตปี 62/63 สัญญาณดี หลังอ้อยสดเข้าหีบแซงหน้าอ้อยไฟไหม้แล้ว

นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า โรงงานน้ำตาลตระหนักถึงปัญหาอ้อยไฟไหม้และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต้องบูรณาการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทั้งภาครัฐ โรงงานน้ำตาลและชาวไร่ โดยต้องวางแผนบริหารจัดการด้าน ซัพพลายเชนทั้งอุตสาหกรรม ตั้งแต่กระบวนการบริหารจัดการแปลงเพาะปลูกอ้อย โดยจูงใจชาวไร่รวมแปลงเล็กเป็นแปลงใหญ่เพื่อเพาะปลูก ช่วยลดต้นทุนและสามารถนำรถตัดอ้อยเข้าไปจัดเก็บผลผลิตได้

 ขณะที่โรงงานเร่งรณรงค์และสนับสนุนการตัดอ้อยสดอย่างต่อเนื่อง และเสนอให้ภาครัฐสนับสนุนสินเชื่อซื้อรถตัดอ้อยในอัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่โรงงานและชาวไร่ เนื่องจากรถตัดอ้อยในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูงและไม่เพียงพอ รวมถึงสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังมีโรงไฟฟ้าชีวมวลในบางพื้นที่ไม่สามารถขายไฟฟ้าแก่ กฟผ. ได้

“การแก้ไขปัญหาเผาอ้อยเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน เชื่อว่าชาวไร่ก็ไม่อยากเผาแต่ด้วยแรงงานตัดอ้อยขาดแคลน ต้นทุนก็สูง โรงงานจึงได้เร่งส่งรถตัดอ้อยเข้าช่วยชาวไร่ที่เป็นคู่สัญญาจัดเก็บผลผลิตอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้อ้อยสดเข้าหีบซึ่งให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยสูงกว่าอ้อยไฟไหม้ อย่างไรก็ดี โรงงานบางแห่งยังรับซื้อใบอ้อยใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า แม้ต้นทุนผลิตไฟฟ้าจะสูงขึ้นก็ตาม” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

ส่วนสถานการณ์หีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2562/63 หลังเปิดรับผลผลิตมาแล้ว 50 วัน เริ่มตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2562 มีปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบแล้ว 42.62 ล้านตันอ้อย แบ่งเป็น อ้อยสด 21.69 ล้านตันอ้อย อ้อยไฟไหม้อยู่ที่ 20.93 ล้านตันอ้อย ผลิตน้ำตาลได้ 43.73 ล้านกระสอบ คิดเป็นอัตราผลผลิตน้ำตาล 102.61 กิโลกรัมต่อตัน และมีค่าความหวาน เฉลี่ย 12.20 ซี.ซี.เอส. เทียบกับระยะเวลาหีบอ้อยช่วงเดียวกันปี 2561/62 มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 36.41 ล้านตันอ้อย เป็นอ้อยสด 15.83 ล้านตันอ้อย และอ้อยไฟไหม้ 20.58 ล้านตันอ้อย ผลิตน้ำตาลได้ 34.80 ล้านกระสอบ คิดเป็น 95.59 กิโลกรัมต่อตันอ้อย และมีค่าความหวานเฉลี่ย 11.46 ซี.ซี.เอส.

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้รับผลผลิตอ้อยเข้าหีบได้มากกว่าปีก่อน เนื่องจากมีโรงงานใหม่เพิ่มขึ้น แห่ง รวมทั้งโรงงานได้เพิ่มประสิทธิภาพการหีบสกัดน้ำตาลที่ดีขึ้น เป็นผลให้ปัจจุบันโรงงานมีกำลังการผลิตหีบอ้อยเฉลี่ยอยูที่ 1.0  1.1 ล้านตันต่อวัน อย่างไรก็ตามจากผลกระทบภัยแล้งที่รุนแรง คาดว่า ปริมาณอ้อยเข้าหีบปีนี้จะลดลงกว่า 30-40ของปีก่อน หรืออยู่ที่ 9ล้านตันอ้อยเท่านั้น ส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลจะลดลงจากปีก่อนประมาณ 3-4 ล้านตัน

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button